คาปิบาร่า หนูยักษ์แสนน่ารักที่มีหน้าตาสุดฮา

          มารู้จัก คาปิบาร่า หนูยักษ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีหน้าตาน่ารักและกวน ๆ ชวนให้มนุษย์รู้สึกเอ็นดูเมื่อได้เห็น

คาปิบาร่า

          คาปิบาร่า (Capybara) เป็นหนูยักษ์และสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พวกมันเป็นสัตว์สังคมที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยธรรมชาติแล้วอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในป่าหนาทึบและใกล้กับแหล่งน้ำ พวกมันว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง ชื่นชอบน้ำมาก ๆ จึงมักจะใช้เวลาทั้งวันในการแช่อยู่ในน้ำ (นอนในน้ำได้ด้วย) จะขึ้นจากน้ำเฉพาะเวลาออกหากินเท่านั้น

คาปิบาร่า

          คาปิบาร่าเป็นสัตว์กินพืช พวกมันกินได้ตั้งแต่หญ้า ไม้น้ำ ผลไม้ ไปจนถึงเปลือกไม้ สิ่งที่กินจะแตกต่างไปตามฤดูกาล

          คาปิบาร่าเติบโตเต็มวัยเมื่ออายุราว 1 ปีครึ่ง และมันมีอายุขัยประมาณ 8-10 ปี หากเป็นสัตว์เลี้ยงหรืออยู่ในสวนสัตว์ แต่จะมีอายุขัยเฉลี่ยเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้นในธรรมชาติ เพราะมักจะถูกล่าโดยสัตว์นักล่าอย่างเสือ เหยี่ยว อนาคอนด้า หรือจระเข้

คาปิบาร่า

คาปิบาร่า

คาปิบาร่า

สาวเล่นกับน้องหมาหน้าออฟฟิศ วันต่อมาไหงเพิ่มมาอีกเรื่อย ๆ

       ถึงกับตั้งตัวไม่ทัน สาวเล่นกับน้องหมาหน้าออฟฟิศ วันต่อมาไหงเพิ่มมาอีกเรื่อย ๆ

           ผู้ใช้ TikTok @aompattera ได้เผยภาพตอนเล่นกับน้องหมาข้างหน้าออฟฟิศ มาทำงานวันแรกรู้สึกไม่เหงาอีกต่อไป โดนน้องตกไปเต็ม ๆ เวลาเจอคนน้องจะชอบอ้อน แต่วันต่อมาเริ่มมีหมาเพิ่มทีละตัว เจอล่าสุดคือ 5 ตัว รอเจอหน้าออฟฟิศ ทำเอาเธอแทบเหวอไปเลยทีเดียว แถมยังมีความเหมือนจนนึกว่าแยกร่างได้

เล่นกับหมา

เล่นกับหมา

เล่นกับหมา

เล่นกับหมา

เล่นกับหมา

เล่นกับหมา

ภาพจาก TikTok @aompattera

พาหมาออกมาข้างนอก แต่ไม่ยอมเดินเล่น มนุษย์เลยแก้ปัญหาด้วยวิธีสุดเจ๋ง

       ทำไมไม่ยอมเดินเล่น !? พาหมาออกมาข้างนอก แต่ไม่ยอมเดินเล่น มนุษย์เลยแก้ปัญหาด้วยวิธีสุดเจ๋ง

           เฟซบุ๊ก KuRo×黑慕晴 ได้โพสต์ในกลุ่ม 路上觀察學院 ได้เผยภาพหนุ่มชาวไต้หวันคนหนึ่ง พาหมาออกมาเดินเล่นข้างนอก แต่หมาดันไม่ยอมเดินซะงั้น จึงคิดวิธีแก้ปัญหาสุดแปลก ด้วยการเอาน้องหมายืนบนไหล่ของมนุษย์ ถือเป็นมิติใหม่แห่งการพาหมาไปเดินเล่น จนเป็นไวรัลดังทั่วเอเชีย

หมาเดินเล่น

ภาพจากเฟซบุ๊ก KuRo×黑慕晴

ทำความรู้จัก เสือโคร่ง นักล่ารักสันโดษ สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้

ทำความรู้จัก เสือโคร่ง สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้ พร้อมข้อมูลน่ารู้ต่าง ๆ ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ลักษณะ นิสัย สายพันธุ์ต่าง ๆ รวมไปถึงวันสำคัญอย่างวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลกด้วย

เสือโคร่ง

หากพูดถึง เสือโคร่ง อาจจะฟังดูน่ากลัว จากลักษณะที่ดูน่าเกรงขาม และข่าวคราวต่าง ๆ เช่น มีคนโดนเสือโคร่งทำร้าย มาให้เห็นกันอยู่เนือง ๆ วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาทุกคนไปรู้จักกับสัตว์ป่าชนิดนี้ให้มากขึ้นว่าจริง ๆ แล้วเสือโคร่งเป็นสัตว์อันตรายอย่างที่หลายคนคิดหรือไม่ ตั้งแต่ถิ่นที่อยู่อาศัย สายพันธุ์ ลักษณะ ไปจนถึงนิสัย และเพราะเหตุใดจึงควรช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี้เอาไว้

ที่อยู่และลักษณะของเสือโคร่ง

เสือโคร่ง

เสือโคร่ง เป็นสัตว์ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และจัดเป็นประเภทเสือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Panthera Tigris พบได้ในป่าของทวีปเอเชียและทางตะวันออกของประเทศรัสเซีย รวมถึงประเทศไทยที่พบมากในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติปางสีดา และอุทยานแห่งชาติทับลาน 

เสือโคร่งมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากเสือประเภทอื่น ๆ คือ ขนบนลำตัวสีแดง-ส้มไปจนเหลืองปนน้ำตาล ใต้ท้องมีขนสีขาว มีลาดพาดสีดำและเทาเข้มตลอดทั้งตัว หรือที่เรียกว่า "ลายพาดกลอน" หากมองเผิน ๆ ลวดลายของเสือโคร่งอาจจะดูเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วลายของเสือโคร่งแต่ละตัวมีความแตกต่างกันไป

ส่วนขนาดลำตัวของเสือโคร่งแต่ละตัวขึ้นอยู่กับเพศและสายพันธุ์ ความยาวรวมหางโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 140-300 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม ส่วนใหญ่เสือโคร่งตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15 ปี 

นิสัยของเสือโคร่ง

เสือโคร่ง

เสือโคร่ง มีนิสัยรักสันโดษ ชอบอยู่ตามลำพัง แต่บางครั้งอาจจะมีการรวมกลุ่มบ้างในเวลาที่ต้องการล่าเหยื่อขนาดใหญ่ หรือเป็นแม่เสือที่กำลังเลี้ยงดูลูก นอกจากนี้เสือโคร่งยังมีการสร้างอาณาเขตของตัวเองเหมือนกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ โดยการปล่อยปัสสาวะไว้ตามที่ต่าง ๆ กินพื้นที่ประมาณ 10-70 กิโลเมตร 

อาหารของเสือโคร่ง

เสือโคร่งเป็นสัตว์กินเนื้อและมักจะกินสัตว์ขนาดใหญ่เป็นหลัก เช่น กวาง หมูป่า หมี แต่ก็มีเสือบางพื้นที่อาจจะมีการล่าสัตว์เล็กหรือสัตว์เลื้อยคลานอย่างนก ปลา จระเข้ เป็นอาหารด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่จะออกล่าเหยื่อช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน โดยอาศัยการพรางตัวและซุ่มโจมตีเหยื่อจากด้านข้างหรือด้านหลังอย่างรวดเร็ว ด้วยการกัดที่คอหอยหรือคอด้านหลัง ซึ่งแรงกัดของเสือโคร่งสามารถทำให้กระดูกคอแตกจนเสียชีวิตได้เลยทีเดียว 

สายพันธุ์เสือโคร่ง

เสือโคร่ง

สายพันธุ์ของเสือโคร่งที่พบทั่วโลกมีทั้งหมด 9 สายพันธุ์ด้วยกัน แบ่งตามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่สูญพันธุ์ไปแล้ว 3 สายพันธุ์ คือ เสือโคร่งบาหลี เสือโคร่งชวา และเสือโคร่งแคสเปียน ส่วนสายพันธุ์เสือโคร่งที่ยังหลงเหลืออยู่ ได้แก่ เสือโคร่งสายพันธุ์สุมาตรา สายพันธุ์ไซบีเรีย สายพันธุ์จีนใต้ สายพันธุ์มลายู สายพันธุ์อินโดจีน และสายพันธุ์เบงกอล แต่ในปัจจุบันก็มีจำนวนน้อยลงมากเพราะตกเป็นเหยื่อจากการล่าและโดนคุกคามที่อยู่อาศัย ดังนั้นในหลายประเทศจึงมีการห้ามไม่ให้มีการล่าเสือโคร่งเกิดขึ้น รวมถึงในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม : เปิดทำเนียบ เสือ 5 ชนิดเสี่ยงสูญพันธุ์ ถูกขึ้นบัญชีเป็น "สัตว์ป่าคุ้มครอง"

วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก

วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก

หลังจากการประชุมเสือโคร่งโลก (Tiger Summit) ในปี 2553 จาก 13 ประเทศสำคัญที่มีเสือโคร่งกระจายตัวและอาศัยอยู่ ได้กำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก (International Tiger Day) เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของเสือโคร่ง ช่วยกันปกป้องอนุรักษ์สัตว์ป่าชนิดนี้เอาไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าไปพร้อมกัน 

อ่านเพิ่มเติม : 29 กรกฎาคม วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก รักษ์เสือไว้ ไม่ให้สูญพันธุ์

แม้เสือโคร่งจะเป็นสัตว์ที่ดูโหดร้าย น่ากลัว แต่จริง ๆ แล้วก็เป็นสัตว์ป่ารักสันโดษและส่วนใหญ่จะโจมตีเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันอาณาเขต อีกทั้งในปัจจุบันก็มีจำนวนเหลือน้อยจนใกล้จะสูญพันธุ์ คงจะดีกว่าหากทุกคนช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ เพื่อผืนป่าที่สมบูรณ์และป้องกันไม่ให้ระบบนิเวศถูกทำลายไป 

ขอบคุณข้อมูลจาก seub.or.th, verdantplanet.org, wwf.or.th และ dnp.go.th 

ฟู่ไจ๋ สุนัขตำรวจจีนพันธุ์คอร์กี้ ดาวเด่นทีมลาดตระเวน ระหว่างการฝึกปฏิบัติกับครูฝึก

เผยภาพ ฟู่ไจ๋ สุนัขตำรวจจีนพันธุ์คอร์กี้ ดาวเด่นทีมลาดตระเวน ที่ตัวเล็กแต่ไม่ใช่ปัญหา

ฝูไจ่

วันที่ 7 เมษายน 2567 สำนักข่าวซินหัว เผยภาพความน่ารักและการฝึกของ ฟู่ไจ๋ สุนัขตำรวจสายพันธุ์คอร์กี้ ระหว่างการฝึกปฏิบัติกับครูฝึกและเพื่อน ณ ฐานสุนัขตำรวจ สังกัดสำนักงานความมั่นคงสาธารณะประจำอำเภอชางเล่อ ในเมืองเหวยฟาง มณฑลซาน ประเทศจีน ด้วยรูปร่างสุดน่ารักกะทัดรัดของเจ้า ฟู่ไจ๋ ทำให้มันกลายเป็นดาวเด่นดึงดูดความสนใจจากผู้คนที่พบเห็นระหว่างออกปฏิบัติการลาดตระเวนอย่างมาก 

ฝูไจ่

ฝูไจ่

ฝูไจ่

ฝูไจ่

ภาพจาก สำนักข่าวซินหัว

รู้จัก นกชนหิน สัตว์ป่าสงวนหายากในไทย ที่ควรอนุรักษ์ไว้

ทำความรู้จัก นกชนหิน สัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 สัตว์ป่าหายากในไทยเสี่ยงสูญพันธุ์ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ พร้อมข้อมูลน่ารู้และเหตุผลที่ควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้

นกชนหิน

เปิดข้อมูล “นกชนหิน” สัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ของไทย ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่งจากการโดนล่า มาช่วยกันต่อลมหายใจความสวยงามให้กับผืนป่า ด้วยการช่วยกันอนุรักษ์นกสายพันธุ์นี้กัน ก่อนที่พวกมันจะหายไปตลอดกาล

นกชนหิน ข้อมูลน่ารู้

นกชนหิน หรือที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษ Helmeted Hornbill และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinoplax vigil ถือเป็นสายพันธุ์นกโบราณที่มีความเก่าแก่มานานถึง 45 ล้านปี จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับนกเงือก ส่วนมากอาศัยอยู่ในป่าดงดิบในประเทศพม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และทางภาคใต้ของไทย

นกชนหิน สัตว์ป่าสงวนของไทย

นกชนหิน

นกชนหิน ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ได้กระจายอยู่ใน 3 พื้นที่อนุรักษ์ ได้แก่

อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี 
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา 
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง 

ในปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ของไทย และจัดอยู่ในเกณฑ์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered หรือ CR) เนื่องจากถูกคุกคามจากการล่า เพื่อนำไปทำของใช้และเครื่องประดับเช่นเดียวกับนกเงือกสายพันธุ์อื่น ๆ ในไทย ในปัจจุบันมีการคาดการณ์กันว่ามีจำนวนของนกชนหินหลงเหลืออยู่ในป่าตามธรรมชาติไม่เกิน 100 ตัว

ซึ่งแท้จริงแล้วควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพราะถือเป็นสายพันธุ์นกที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก เพราะช่วยกระจายพันธุ์ไม้ในป่าได้มากมาย อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งนั้นอีกด้วย

ลักษณะนกชนหิน

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า นกชนหิน จัดอยู่ในตระกูลนกเงือก และเป็น 1 ใน 13 สายพันธุ์นกเงือกไทย โดยนกชนหินมีจุดเด่นที่แตกต่างจากนกเงือกสายพันธุ์อื่น ๆ คือ ตรงโหนกที่มีความแข็งและตันคล้ายงาช้างสีแดง หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “งาช้างสีเลือด”

ลักษณะนกชนหิน มีขนาดประมาณ 120 เซนติเมตร ลำตัวมีขนสีน้ำตาลเข้ม ใต้ทองสีขาวนวล ขอบปีกขาว ส่วนหางเป็นขนสีขาวคาดแถบดำ มี 2 เส้น ความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร วิธีจำแนกเพศนกชนหิน สามารถสังเกตได้จากหนังบริเวณคอของตัวผู้จะมีสีแดงถึงสีแดงคล้ำ ส่วนตัวเมียจะมีสีม่วง ฟ้าอ่อน หรือน้ำเงิน ขึ้นอยู่กับช่วงวัย

นอกจากนี้ยังมีเสียงร้องตุ๊ก ๆ ดังเป็นจังหวะ และร้องกระชั้นขึ้นตามลำดับ และจะมีเสียงคล้ายเสียงหัวเราะดังประมาณ 4-5 ครั้ง เมื่อกำลังจะร้องสุดเสียง และจะแผดเสียงคล้ายแตรเมื่อตกใจ เมื่อมีการต่อสู้ นกจะเอาโหนกชนกันจนเกิดเสียงกระทบ และกลายเป็นที่มาของชื่อ “นกชนหิน” นั่นเอง

อาหารและการผสมพันธุ์

นกชนหิน

อาหารหลักของนกชนหินคือ ลูกไทร นอกจากนี้ก็ยังมีแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก อาทิ กระรอก กิ้งก่า และนก

อีกทั้งนกชนหินจะมีการผสมพันธุ์เพียงปีละครั้ง และสามารถเลี้ยงลูกได้ครั้งละ 1 ตัว โดยพ่อนกจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายหาอาหารมาให้แม่นกกับลูกนกที่รังนั่นเอง

เนื่องจาก นกชนหิน มีจำนวนน้อยและอัตราการขยายพันธุ์ต่ำ ดังนั้นจึงเป็นสัตว์ป่าสงวนที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของผืนป่าแล้ว ยังช่วยกระจายพันธุ์ไม้อีกด้วย ก่อนที่นกชนิดนี้จะสูญพันธุ์ไปจากป่าไม้ไทยตลอดกาล

ขอบคุณข้อมูลจาก paro6.dnp.go.th, chm-thai.onep.go.th, hornbill.or.th, home.maefahluang.org และ seub.or.th

แม่เห็นน้องหมากัดหมอนอย่างเมามัน แถมสีเลอะเต็มหน้า

       อาชญากรมักทิ้งร่องรอยไว้เสมอ แม่เห็นน้องหมากัดหมอนอย่างเมามัน แถมสีเลอะเต็มหน้า

           ทวิตเตอร์ @algorithm_bot_ ได้เผยภาพน้องหมาตัวหนึ่ง ใช้ช่วงเวลาแบบเหมาะเจาะ ไม่มีใครอยู่บ้าน กัดหมอนอย่างสนุกสนาน ทันใดนั้นแม่เข้ามาเห็นพอดี ทำเอาน้องไปไม่เป็นเลยทีเดียว จะหนีความผิดก็หนีไม่ได้ หลักฐานมีให้เห็นอย่างชัดเจน สีปอกหมอนเลอะทั้งหน้าและเท้าเลยทีเดียว โดนบทลงโทษจากแม่หนักแน่งานนี้

หมาซน

ภาพจากทวิตเตอร์ @algorithm_bot_

สาวเห็นแมวส้มใส่แว่นดำที่คลินิก นึกว่าจะแต่งเอาเท่ ที่แท้…

       หล่อซะไม่มี สาวเห็นแมวส้มใส่แว่นดำที่คลินิก นึกว่าจะแต่งเอาเท่ ที่แท้…

           เว็บไซต์ Weibo จากจีน ได้เผยภาพเหตุการณ์ที่คลินิกสัตว์แห่งหนึ่ง มีหญิงสาวพาสัตว์เลี้ยงไปรักษา เห็นน้องแมวส้มที่หมอกำลังอุ้ม ใส่แว่นดำสุดเท่ พร้อมกับเขียนแคปชั่นว่า ทำไมต้องแต่งหล่อขนาดนี้ ก่อนที่รู้ว่า น้องใส่แว่นดำก็เพราะกำลังรักษาแผลด้วยเลเซอร์ เลยต้องใส่แว่นกันแสงเอาไว้เพื่อป้องกันสายตา

แมวส้ม

แมวส้ม

แมวส้ม

ภาพจากเว็บไซต์ Weibo

วิธีเลี้ยงกระรอก พร้อมเคล็ดลับฝึกเจ้าตัวเล็กให้เชื่อง

กระรอกเลี้ยงยากไหม ? ตามไปดูเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับกระรอก ทั้งนิสัย การให้อาหาร และวิธีเลี้ยงกระรอก ก่อนเอามาเลี้ยงที่บ้าน

กระรอก

กระรอก เป็นสัตว์อีกหนึ่งชนิดที่หลายคนนิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะตัวเล็ก น่ารัก และน่าจะเลี้ยงง่าย แต่ทั้งนี้ในการเลี้ยงกระรอกนั้นก็มีรายละเอียดที่จะต้องดูแลใส่ใจ ดังนั้นมาดูข้อมูลวิธีเลี้ยงกระรอกก่อนตัดสินใจนำมาเลี้ยงกัน

ลักษณะกระรอก

กระรอก (Squirrel) เป็นสัตว์ฟันแทะ เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็กและมีความปราดเปรียวว่องไวสูง มีขนสีน้ำตาลเข้มปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย ยกเว้นใต้ท้องจะมีขนสีขาวครีม นัยน์ตากลมดำ และมีหางเป็นพวงฟู มีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว แต่มีนิ้วเท้าหน้าเพียงข้างละ 4 นิ้ว ไว้สำหรับจับอาหารมากัดแทะ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8 ปี แต่บางตัวก็อาจอยู่ได้ถึง 15-20 ปี

ประเภทกระรอก

กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกประเภทที่พบเห็นได้มากที่สุด มักจะชอบปีนป่ายอยู่บนต้นไม้และกิ่งไม้
กระรอกดิน กระรอกประเภทนี้มักจะอาศัยอยู่ในป่า ขุดดินเพื่อใช้ในการจำศีลช่วงฤดูหนาว
กระรอกบิน จะมีพังผืดระหว่างขาแต่ละข้างที่สามารถกางออกเพื่อร่อนข้ามไปยังต้นไม้แต่ละต้นได้

ทั้งนี้ หากใครจะเลี้ยงกระรอกควรศึกษาข้อมูลทั้งายพันธุ์และวิธีเลี้ยงให้ละเอียดหรือขออนุญาตก่อนเลี้ยง เนื่องจากมีกระรอกบางสายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่มเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น กระรอกขาว กระรอกบินแก้มสีแดง กระรอกบินแก้มสีเทา ฯลฯ หากฝ่าฝืนอาจมีผลทางกฎหมายได้

อาหารกระรอก

กระรอก

ตามธรรมชาติแล้วอาหารหลักของกระรอกคือผลไม้และเมล็ดพืช ไม่ว่าจะเป็นลูกสน เมล็ดพันธุ์ เห็ด ผลเบอร์รี่ โอ๊ก วอลนัท พีแคน และดอกไม้ต่าง ๆ แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ กระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอกก็อาจกินไข่นกเป็นอาหารในบางครั้งอีกด้วย

สำหรับกระรอกเลี้ยงนั้น ในวัยแรกเกิดถึง 2 เดือน ควรเน้นให้นมเป็นหลัก หรือถ้าเป็นนมแพะจะเหมาะสมที่สุด และเมื่ออายุได้ประมาณ 40 วัน ควรเริ่มบังคับให้กระรอกกินกล้วยก่อนกินนม จากนั้นเมื่ออายุได้ประมาณ 2 เดือน ฟันจะเริ่มขึ้น ควรเริ่มให้เมล็ดทานตะวัน เพื่อเป็นการลับฟันไปในตัว แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นผลไม้ชนิดอื่น เช่น ฝรั่ง เมล็ดข้าวโพด ทั้งนี้ ควรเลี้ยงพืชตระกูลสีแตงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น แตงโม แตงกวา ฯลฯ เนื่องจากจะทำให้กระรอกท้องเสียได้ 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ากระรอกจะสามารถกินอาหารมนุษย์อย่างขนมและอาหารแปรรูปต่าง ๆ ได้ แต่มันก็ไม่ค่อยเป็นผลดีต่อสุขภาพของกระรอกเท่าไรนัก เพราะหากให้กินมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคอ้วนและปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้นั่นเอง

วิธีเตรียมตัวก่อนนำกระรอกมาเลี้ยงในบ้าน

เนื่องจากกระรอกยังมีสัญชาตญาณของสัตว์ป่า ชอบเล่น ปีนป่ย และหลบซ่อน ดังนั้นก่อนจะนำกระรอกมาเลี้ยงในบ้าน มีสิ่งที่ควรรู้และเตรียมตัวไว้ก่อนดังนี้

เก็บสิ่งของมีค่าและของที่สามารถตกแตกได้ให้มิดชิด
ปิดช่องและรูต่าง ๆ รวมทั้งเก็บสิ่งของที่กระรอกอาจเข้าไปหลบซ่อนในนั้นได้
เก็บสารเคมีหรือสิ่งของอันตรายให้มิดชิด รวมทั้งขนมแปรรูปที่ไม่ควรให้กระรอกกิน
แยกกระรอกจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ในบ้าน จนกว่ากระรอกจะคุ้นเคยกับบ้านเสียก่อน
คอยสอดส่องดูแลขณะที่กระรอกอยู่รวมกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ไม่ปล่อยพวกมันอยู่กันตามลำพัง

วิธีเลี้ยงกระรอก

กระรอก

ใครที่อยากเริ่มเลี้ยงกระรอก แนะนำให้ทำความเข้าใจวิธีเลี้ยงกระรอกกันก่อน ว่าควรดูแลอย่างไรบ้าง ดังนี้

1. ให้อาหารที่เหมาะสม

ในการให้อาหารกระรอกนั้น ควรให้จำพวกเมล็ดพืชหรือแมลงตามที่กล่าวไปข้างต้น ไม่ควรให้กินอาหารมนุษย์หรืออะไรก็ได้ เพราะไม่ดีกับสุขภาพของกระรอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระรอกวัยแรกเกิด ถ้าหากให้อาหารที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้กระรอกถึงกับป่วยและเสียชีวิตได้เลย

2. ให้น้ำที่เพียงพอ

นำถ้วยหรือชามใส่น้ำเปล่าวางไว้ในกรงหรือที่อยู่ของกระรอกไว้เสมอ เพื่อให้กระรอกได้รับน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทั้งนี้ควรใช้เป็นถ้วยแก้วหรือถ้วยกระเบื้องใส่น้ำ เพราะถ้าเป็นถ้วยพลาสติก กระรอกอาจจะกัดแทะได้ นอกจากนี้ถ้ากระรอกยังเป็นวัยแรกเกิด ไม่ควรใช้ถ้วยใบใหญ่หรือใส่น้ำมากเกินไป เพราะกระรอกอาจตกลงไปในน้ำและจมน้ำเสียชีวิตได้

3. หากกระรอกมีแผลหรือบาดเจ็บ

หากจับกระรอกจากข้างนอกหรือในป่ามาเลี้ยง แนะนำให้ตรวจเช็กร่างกายของกระรอกก่อนว่ามีรอยแผลหรือการบาดเจ็บใด ๆ ไหม ถ้าหากมีแผลเพียงเล็กน้อย ให้เช็ดทำความสะอาดเบา ๆ ด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น แต่ถ้าหากกระรอกบาดเจ็บหรือมีแผลใหญ่เลือดออกมาก แนะนำให้พาส่งสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด

4. กระรอกจำเป็นต้องออกกำลังกาย

เนื่องจากร่างกายของกระรอกนั้นจำเป็นต้องมีการออกกำลังกายบ้าง จึงควรมีของเล่นที่ให้กระรอกได้ปีนป่ายหรือวิ่งเล่นได้ภายในกรง หรืออาจจะปล่อยให้วิ่งเล่นในห้องสักพักก็ได้ แต่จะต้องปิดประตูหน้าต่างให้สนิทเพื่อไม่ให้กระรอกหนีออกไปข้างนอก และเก็บของมีค่าหรือของที่สามารถตกแตกได้ให้มิดชิดก่อนด้วย

วิธีฝึกกระรอกให้เชื่อง

กระรอก

ถึงแม้ว่ากระรอกจะเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวและฉลาด แต่พวกมันก็เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ยากเช่นกัน โดยสิ่งที่สามารถทำได้ก็คือ การใช้เวลากับกระรอกในแต่ละวัน เมื่อมันทำสิ่งที่ดีก็กล่าวชมเชยหรือให้รางวัล แต่มันมักจะไม่เรียนรู้เมื่อเราดุหรือว่ากล่าวตักเตือน เพราะการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ของพวกมันส่วนใหญ่เป็นสัญชาติญาณที่ไม่สามารถแก้ไขได้ อย่างเช่นกันเล่นซนหรือทำสิ่งของเสียหาย เป็นต้น

นอกจากนี้ อีกหนึ่งสิ่งที่ควรฝึกกระรอกก็คือ การฝึกขับถ่าย โดยสำหรับกระรอกวัยแรกเกิด ให้ใช้สำลีเปียกถูนวดบริเวณก้นเป็นวงกลมวันละหลาย ๆ ครั้ง เมื่อกระรอกมีอายุได้ 5-6 สัปดาห์ มันจะสามารถขับถ่ายเองได้สะดวกขึ้น หลังจากนั้นก็ฝึกให้มันขับถ่ายในกระบะทราย โดยให้นำอุจจาระของมันไปวางไว้ในกระบะ เพื่อให้มันได้กลิ่นและเข้าใจว่ากระบะทรายคือที่ขับถ่ายสำหรับมัน

สำหรับคนที่กำลังคิดจะเลี้ยงกระรอก ก็ลองนำข้อมูลเหล่านี้ไปพิจารณาดูนะคะ ว่าเหมาะกับเราหรือไม่จะได้ไม่เกิดปัญหาในระยะยาว

ขอบคุณข้อมูลจาก : scimath.org, verdantplanet.org, pets.webmd.com และ wikihow.com

ล็อกประตูบ้าน แต่ดันลืมหยิบกุญแจออกมา เลยต้องพึ่งตัวช่วย

       เอ็นดูกันทั้งโซเชียล ล็อกประตูบ้าน แต่ดันลืมหยิบกุญแจออกมา เลยต้องพึ่งตัวช่วย

           ผู้ใช้ TikTok @noodie59 ได้เผยภาพเจ้าของบ้านหลังหนึ่ง ปีนขึ้นมาชั้น 2 เนื่องจากล็อกประตูแล้วลืมหยิบกุญแจบ้าน เลยบอกให้น้องหมาขึ้นไปหยิบกุญแจบนโต๊ะให้หน่อย แล้วน้องสามารถช่วยเอากุญแจให้สำเร็จ ชาวเน็ตเห็นถึงกับคอมเมนต์ว่า อยากแท็กให้หมาที่บ้านดูจริง ๆ

ล็อกประตูบ้าน

ล็อกประตูบ้าน

ล็อกประตูบ้าน

ล็อกประตูบ้าน

ล็อกประตูบ้าน

ล็อกประตูบ้าน

ภาพจาก TikTok @noodie59